วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะการเขียนบทความที่ดี A Good Article

ลักษณะการเขียนบทความที่ดี


การเขียนบทความที่ดีทำให้ผู้อ่านสนใจ ชวนอ่านต่อ มีประเด็นที่ทำให้ผู้อ่านเกิดความสนใจและตั้งใจที่จะอ่านนั้น โดยไม่สร้างความเบื่อหน่ายหรือทำให้ผู้อ่านบาทหยุดอ่านนั้นมีสาเหตุมาจากหลายอย่าง แต่ในขณะเดียวกันผู้เขียนก็สามารถที่จะเขียนบทความที่ตนเขียนนั้นไม่น่าเบื่อและกระตุ้นให้ผู้อ่านติดตาม มีเนื้อหาที่น่าสนใจ ซึ่งลักษณะบทความที่ดีจะประกอบด้วยสิ่งเหล่านี้ในบทความได้แก่
  1. บทความควรมีเนื้อหาที่ไม่ยาวจนเกินไป

    การเขียนบทความให้ผู้อ่านได้เข้าใจถึงบาทความที่ตนเขียนนั้นบทความที่เขียนนั้นจะต้องสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อมไม่สั้นและไม่ยาวจนเกินไปสื่อด้วยข้อความเข้าใจง่าย ด้วยภาษาที่มีความหมายเข้าใจง่ายต่อผู้อ่าน การสื่อสารด้วยการเขียนการใช้คำที่เขียนเป็นสิ่งที่สำคัญมากต่อผู้อ่าน การใช้คำและประโยคที่เข้าใจง่ายนั้นจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจบทความได้ง่ายและ จะทำให้เขาติดตามในส่วนต่อไปของบทความไม่เกิดความเบื่อหน่าย
  2. ใช้รูปในการประกอบบทความ Pictures

    การสร้างความสนใจในการเขียนบทความเพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้อ่านนั้นถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญเพราะจะช่วยทำให้ผู้อ่านไม่เกิดความเบื่อหน่ายต่อบทความที่อ่านและที่สำคัญถ้ารูปที่เราใช้เป็นส่วนหนึ่งที่สามารถอธิบายเนื้อหาของบทความที่เขียนแล้วด้วยละก็นั้นจะช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในเนื้อหาของทความโดยดูจากรูปเพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาอีกทางหนึ่งอีกด้วย
  3. เนื้อหาชัดเจน Cleary message

    เขียนบทความไม่ใช่เรื่องยากแต่หากอยู่ที่การสื่อสารของบทความที่เขียนนั้นว่าผู้อ่านนั้นอ่านแล้วเข้าใจหรือไม่ เขียนไปแล้วผู้อ่านแล้วเข้าใจไปคนละอย่างกับที่สื่อหรือผู้อ่านไม่เข้าใจเลยแบบนั้นก็ถือว่าบทความนั้นๆเป็นบทความที่ไม่ดี ไม่สามารถเข้าถึงผู้อ่านได้ นั้นหมายถึงว่า การเขียนบทความเรื่องไหนก็ควรจะเขียนชัดเจนไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เขียนซับซ้อนอ้างไปถึงเรื่องอื่นไปมาจะทำให้ผู้อ่านสับสนและอาจตีความผิดได้
  4. เนื้อหาทันเหตุการณ์ ทันสมัย Real time content

    การเขียนบทความทันสมัยต่อเหตุการณ์ ทันกระแสนั้นทำให้เป็นสิ่งดึงดูดต่อผู้อ่านได้มากยิ่งขึ้น เช่นบทความจากข่าวช่วงนั้นๆ เหตุการณ์ต่างๆกับสถานการณ์ต่างๆที่เพิ่งเกิดขึ้นและมีคนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก เรียกได้ง่ายๆว่าเกาะกระแสทำให้เนื้อหาที่เราเขียนในบทความเป็นไปได้ง่ายและเป็นจุดสนใจกับผู้อ่านเช่นเดียวกัน แต่สมมติว่าเราเขียนบทความย้อนสมัยหรือไม่ร่วมสมัยก็อาจน่าสนใจอยู่บ้าง แต่จำนวนความสนใจของผู้อ่านก็อาจจะน้อยลงไปด้วย นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าการเขียนให้ทันกระแส หรือเกาะกระแสจะเป็นบทความที่ดีเสมอไปแต่ทั้งหมดของบทความที่ดีนั้นอยู่ที่ว่า เราสื่อสารให้ผู้อ่านเข้าใจในบทความที่เราเขียนมากน้อยเพียงใดและมีความน่าสนใจในเนื้อหามากเพียงใดเท่านั้นเอง